สัญญาณเตือนว่าสุนัขของท่านอ้วนเกินไปหรือไม่





สัญญาณเตือนว่าสุนัขของท่านอ้วนเกินไปหรือไม่

เมื่อพูดถึงความอ้วน ไม่ใช่ปัญหาแค่สำหรับคนนะ แต่ยังโรคอ้วนก็ยังเป็นปัญหากับน้องหมาด้วยนะเดี๋ยวนี้น้องหมาที่เป็นโรคอ้วนสามารถพบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากเจ้าของบางท่านมักมองว่าสุนัขอ้วนน่ารัก หรือรู้สึกใจอ่อนทุกครั้งเมื่อสุนัขของตนเองขออาหารกินจึงไม่สามารถควบคุมอาหารได้ บางท่านมีการให้อาหารของคนซึ่งมีปริมาณไขมันสูง เช่น อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว หรือผลไม้ เช่น ทุเรียน เป็นต้น

โรคอ้วนในน้องห้ามคืออะไร

 โรคอ้วนเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม มีการสะสมไขมันในร่างกายที่มากเกินไป อีกทั้งโรคอ้วนยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย วันนี้เรามี 5 สัญญาณเตือนที่ให้เจ้าของสังเกตว่าสุนัขของท่านอ้วนเกินไปหรือไม่

 

 5 สัญญาณเตือนว่าน้องหมาอ้วนเกินไปหรือไม่

 1. คุณสัมผัสซี่โครงของสุนัขของคุณไม่พบใช่หรือไม่ ?

การสังเกตจากกระดูกซี่โครงเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะดูว่าสุนัขของคุณอ้วนเกินไปหรือไม่ โดยการสัมผัสที่บริเวณด้านข้างของช่องอก หากมีไขมันหนามากในสุนัขอ้วน คุณจะสัมผัสไม่พบกระดูกซี่โครงนั่นเอง

2. สุนัขของคุณมักมีปัญหาหายใจลำบากหรือไม่ ?

สุนัขมักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบ เหนื่อยง่าย ไม่ทนต่อการออกกำลังกาย แสดงว่าสุนัขของคุณอาจมีปัญหาอ้วนเกินไปได้ ซึ่งในระยะยาว นอกจากปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ สุนัขอ้วนเหล่านี้อาจมีปัญหาเรื่องระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และอาจเกิดหัวใจวายได้

3. สุนัขของคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อย หรือท้องผูกบ่อยหรือไม่ ?

สุนัขที่เป็นโรคอ้วนจะมีปัญหาเรื่องระบบการย่อยและการขับถ่าย มักจะพบปัญหาท้องผูก เนื่องจากกินอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่เกิน และมีการเผาผลาญพลังงานน้อย ในการศึกษาพบว่าสุนัขที่กินอาหารประเภทไขมันมากเกินไปอาจเนี่ยวนำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบตามมาได้

4. สุนัขของคุณมีปัญหาในกาiเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่ ?

น้ำหนักที่มากเกินไปจะส่งผลต่อระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อของกระดูกได้  เช่น โรคข้ออักเสบ และโรคข้อสะโพกหลุด เป็นต้น โรคดังกล่าวทำให้สุนัขเกิดความเจ็บปวด และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสุนัขได้ในระยะยาว

 5. รูปทรงของสุนัขของคุณเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมใช่หรือไม่ ?

มองด้านข้างลำตัวสุนัข พบว่าบริเวณหัวไหล่กลมมน มีไขมันปกคลุม มองไม่เห็นกระดูกสันหลัง และคลำไม่พบกระดูกสันหลัง มีไขมันหนาบริเวณกระดูกเชิงกรานและมองไม่เห็นกระดูก มองไม่เห็นกระดูกซี่โครงและไม่สามารถคลำพบได้ บริเวณท้องย้อย มีไขมันสะสมมาก จากสาเหตุดังกล่าวพบว่าเมื่อมองจากทางด้านข้างลำตัวสุนัขจะคล้ายกับบล็อกของกล่องสี่เหลี่ยมนั่นเอง

 

การลดน้ำหนักในสุนัขต้องอาศัยความร่วมมือจากเจ้าของสุนัขทุกคนในบ้าน แนะนำให้อาหารสุนัขเป็นมื้อที่แน่นอน งดขนมที่มีพลังงานสูงในระหว่างวัน การลดปริมาณอาหารต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรลดปริมาณอาหารลงทันที เพื่อให้สุนัขได้ค่อยๆปรับตัว สุนัขจะไม่สามารถลดน้ำหนักลงได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาแค่ไม่กี่สัปดาห์เหมือนคน บางตัวอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีในการลดน้ำหนัก นอกจากการควบคุมอาหารแล้ว ยังต้องการการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ  สิ่งสำคัญคือ ต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอด้วยนะ เพื่อสุขภาพที่ของน้องหมาสุดรัก