ทำความรู้จักโรคหมอรองกระดูกทับเส้นประสาท
อาการป่วยของน้องหมาแมวบ้างครั้งอาจดุเหมือนเป็นเรื่องไม่ใหย๋ แต่...เจ้าของอย่าชะล่าใจ !! น้องหมาสามารถเป็น “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ได้นะแล้วโรคนี้มันเหมือนกับที่คนเป็นไหม? เราจะรู้ได้ยังไงว่าน้องหมาของเรานั้นเป็นโรคนี้ ? มีทางรักษาไหมกับโรคนี้ ? วันนี้เราจะไขข้อสงสัยให้ทุกคนได้รู้จักโรคนี้กันมากขึ้น
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจาก อะไร
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจาก การที่หมอนรองกระดูกซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างข้อต่อของกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาทที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวและการทำงานของร่างกายจนทำให้น้องหมามีอาการปวดและร้ายแรงไปกว่านั้นอาจะเป็นอัมพาตได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
· วิ่งเล่นบนพื้นที่ลื่น
· วิ่งเล่นและกระโดดบ่อยๆ
· ปล่อยให้น้องหมามีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป
· วิ่งขึ้นลงบันไดเร็วเกินไป
· โรคนี้มักพบในน้องหมาที่สูงอายุหรือสายพันธุ์ที่มีขาสั้น เช่น ชิห์สุ ดัชชุน และคอร์กี้
อาการเสี่ยงที่เป็นโรคหมอนรองกระดูทับเส้นประสาท
· เคลื่อนไหวช้าลง
· เซื่องซึม
· ชอบนอนเฉยๆและไม่อยากขยับเคลื่อนตัวบ่อย
· ขาหลังอ่อนแรง
· เดินลากขา
· ร้อง เมื่อจับบริเวณช่วงหลัง
ถ้าเป็นแล้วจะหายได้หรือไม่??
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระดับของการเป็นอัมพาต ซึ่งอัมพาตในสัตว์แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
· ระดับ 1 : มีอาการเจ็บปวดมากกว่าปกติ แค่หันคอก็ปวด จับหลังก็ปวด แต่สัตว์ยังสามารถเดินได้ปกติ
· ระดับ 2 : เพิ่มเติมจากระดับ 1 คือสัตว์เริ่มเดินเซ เดินลากขา แต่ยังสามารถเดินได้
· ระดับ 3 : ระดับนี้สัตว์จะเดินไม่ได้แล้ว แต่ยังสามารถควบคุมการขับถ่าย ได้เป็นปกติ
· ระดับ 4 : เดินไม่ได้ และไม่สามารถปัสสาวะหรืออุจจาระเองได้เลย
· ระดับ 5 : สัตวไม่มีความรู้สึกของปลายประสาทของขาเลย ถึงแม้ว่าจะทดสอบโดยการทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง
ยิ่งมีระดับของการอัมพาตที่สูงยิ่งขึ้น โอกาสที่จะกลับมาหายเป็นปกติก็ยิ่งมีน้อยลงบางตัวเป็นระดับ 1-2 แค่เพียงทานยาก็อาจหายเป็นปกติได้ แต่บางตัวเป็นระดับที่สูงขึ้นไป ซึ่งยิ่งเป็นระดับที่สูงขึ้นโอกาสการกลับมาหายเป็นปกติก็ยิ่งมีน้อยลง และขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละตัวและระยะเวลาที่ได้เกิดภาวะอัมพาตขึ้นมา
แนวทางการรักษา
ถ้าหากเราได้ทำการสังเกตุพฤติกรรมของน้องหมาเราแล้วว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแน่นอนให้รีบมาพบคุณหมอทันทีเพื่อนทำการรักษา ซึ่งการรักษานั้นจะมีตั้งแต่การทานยาในน้องหมาที่มีอาการน้อย การรักษาทางยาอาจไม่เพียงพอ อาจต้องพึ่งการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับของไขสันหลัง ร่วมกับการทานยาและการทำกายภาพบำบัด ส่วนในบางรายที่มีอาการเยอะมากๆแล้วจะใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับของไขสันหลัง หรือให้น้องหมาเข้ารับการกายภาพบำบัดเข้าช่วย
ไม่ว่าจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือโรคอื่นๆถ้าหากเราสังเกตุพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของน้องหมาได้ไวและรีบนำไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาได้ไวแค่ไหนโอกาสที่สัตว์เลี้ยงของเราจะหายเป็นปกติก็จะเพิ่มมากขึ้นค่ะ อย่าลืม รู้ก่อนป้องกันก่อน




