ทำอย่างไรเมื่อสัตว์เลี้ยงถูกไฟดูด





ทำอย่างไรเมื่อสัตว์เลี้ยงถูกไฟดูด

น้องหมาและน้องแมวนั้นเป็นที่พอทราบกันดีว่าน้องเป็นสัตว์เลี้ยงที่ซน และหลาย ๆ ครั้งที่กัดแทะสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ ที่นอน รวมถึงสายไฟ และจะต้องทำอย่างไรเมื่อสัตว์เลี้ยงถูกไฟดูด !!  เมื่อเข้าเดือนแห่งเทศกาลคริสต์มาสเรามักจะเห็นภาพหรือคลิปวิดีโอน้องแมวไปอยู่บนต้นคริสต์มาสหรือน้องหมาที่วิ่งชนต้นไม้จนล้มมาทับตัว ภาพที่ออกมาอาจจะดูน่ารักและตลกในความซุกซน  แต่ในความเป็นจริงนั้นเเฝงไปด้วยความน่ากลัวและอันตรายที่น้องๆจะถูกไฟดูดได้  วันนี้เรามีวิธีรับมือเบื้องต้นเมื่อน้องๆถูกไฟดูดมาฝากกันค่ะ 

อาการเมื่อน้องหมาน้องแมวถูกไฟดูด

·      ผิวหนังมีรอยไหม้จากการถูกไฟดูด

·      มีแผลบริเวณที่ปากเพราะ น้องๆอาจจะไปกัดสายไฟจนถูกไฟดูดได้ 

·      น้ำหนักลด เพราะในปากอาจจะมีแผลที่เกิดจากการถูกไฟดูดทำให้ทานอากหารได้น้อยลง(คุณเจ้าของต้องอย่าลืมสังเกตุในปากน้องๆด้วยนะคะ)  

·      มีอาการตัวเกร็ง ชัก และช็อคหมดสติ 

·      ภาวะหายใจลำบาก

·      ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

·      หยุดหายใจ

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 เมื่อพบว่าว่าน้องหมาน้องแมวโดนไฟดูด อย่าสัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงในทันที ให้สังเกตว่าบริเวณโดยรอบนั้นยังมีกระแสไฟไหลเวียนอยู่หรือไม่ ถ้าพบว่ายังมีกระแสไฟอยู่ในตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุด เช่น สับคัทเอาท์จ่ายไฟและถอดปลั๊กออก เมื่อแน่ใจแล้ว่าไม่มีกระแสไฟแล้ว ให้เริ่มทำการ เช็คการหายใจของสัตว์เลี้ยงถ้ามีภาวะการหยุดหายใจให้รีบทำ CPR ให้ไวที่สุด  เมื่อทำ CPR ให้สัตว์เลี้ยงแล้วควรรีบพามาพบสัตวแพทย์ให้ไวที่สุด  และดำเนินการรักษาตามอาการต่อไป

การทำ CPR

เริ่มจากเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากช่องปากสัตว์ที่ถูกไฟดูดให้หมด หลังจากนั้นเปิดปากสัตว์ให้กว้าง ดึงลิ้นออกมา ใช้นิ้วกวาดให้ทั่วช่องปาก รวบปากและคางของสัตว์แล้วเป่าลมเข้าทางจมูกประมาณ 5 – 6 ครั้ง ถ้ายังไม่สามารถหายใจได้เองให้ทำต่อไป

อีกวิธีหนึ่งคือ ใช้มือทั้งสองข้างกดเหนือหัวใจ โดยวางมือซ้อนทับกันแล้ววางไว้เหนือตำแหน่งหัวใจของสัตว์เลี้ยง ไหล่ควรตั้งฉากกับมือและข้อศอกเหยียดตรง โน้มตัวลงไปให้แขนตั้งฉากขณะที่ทำการกดหน้าอก สำหรับสัตว์ขนาดกลางให้ทำการกดหัวใจของสัตว์ลงเบา ๆ ประมาณหนึ่งนิ้ว ส่วนสัตว์ขนาดใหญ่ให้กดแรงขึ้น

การรักษาโดยสัตวแพทย์

เมื่อรีบพาสุนัขและแมวมาพบสัตวแพทย์แล้ว สัตวแพทย์จะทำการตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจ เอ็กซเรย์ รวมถึงตรวจร่างกายภายนอกของสัตว์ว่ามีบาดแผลหรือรอยไหม้รุนแรงหรือเปล่า จากนั้นจะเริ่มทำแผลให้ หากสัตว์มีแผลที่ปากจนกินอาหารเองไม่ได้ สัตวแพทย์จะให้อาหารเหลวโดยสอดท่อให้ทางจมูกหรือหลอดอาหาร ในกรณีที่สัตว์มีภาวะหายใจลำบาก สัตวแพทย์จะทำการใส่หน้ากากออกซิเจน จากนั้นจะสอดท่อเข้าไปที่จมูก และทำการรักษาต่อไป

น้องหมาและน้องแมวก็เปรียบเสมือนเด็กที่ไม่ยังไม่รู้และไม่เข้าใจถึงภัยต่าง ๆ และก็ไม่สามารถสื่อสารให้เราฟังได้ว่าเค้าเจ็บปวดตรงไหนบ้าง ถ้าหากน้องๆเล่นซนจนถูกไฟดูดหรือไฟช็อตขึ้นมาคุณเจ้าของอย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ แต่ควรที่ที่จะรีบดูโดยรวมว่าน้องมีบาดแผลหรือไม่และหากไม่พบอาการผิดปกติภายนอกทางที่ดีให้รีบพาน้องๆมาพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดว่าไม่มีความผิดปกติในด้านใด และที่สำคัญที่สุดอย่าลืมเก็บสายไฟให้พ้นจากเจ้าตัวแสบหรือเก็บไว้ในที่สูงที่เค้าไม่สามารถไปกัดหรือไปเล่นได้ เพื่อความปลอดภัยของน้องๆ